ข้อมูลองค์กร

วิสัยทัศน์ 

  •  เป็นองค์กรหลักในการอนุรักษ์ วิจัย และพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ของประเทศ

พันธกิจ

  1. ศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสัตว์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค
  2. สร้างและพัฒนาฟาร์มเครือข่ายเพื่อผลิตและกระจายสัตว์พันธุ์ดีสู่เกษตรกร
  3. พัฒนาระบบฐานข้อมูลปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ขึ้นทะเบียน และรับรองพันธุ์สัตว์
  4. ส่งเสริมระบบการผลิตปศุสัตว์ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
  5. อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์จากความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการใช้และแบ่งปันผลประโยชน์

ยุทธศาสตร์

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ที่คุณภาพ
  2. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าปศุสัตว์
  3. สร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรและเกษตรกร
  4. ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์ และความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเข้าถึงการใช้และแบ่งปันผลประโยชน์

กลุยุทธ์ 

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ที่มีคุณภาพ
    • วิจัยต่อยอดการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ และการผลิตให้เหมาะสมใช้ในประเทศและส่งออกสู่ประชาคมอาเซียน
    • พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติทางการผลิตสัตว์ที่ดี (GAHP) เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตปศุสัตว์และผลักดันให้เป็นมาตรฐานอาเซียน
    • พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
    • ส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  2. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าปศุสัตว์
    • พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อปรับปรุงพันธุ์
    • พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและการรับรองพันธุ์สัตว์
    • ส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
    • ส่งเสริมระบบการผลิตปศุสัตว์ตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
  3. สร้างความเข้มแข็งให้กับบุคคลากรและเกษตรกร
    • สร้างและพัฒนาฟาร์มเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดี
    • สร้างองค์ความรู้การผลิตสัตว์ และถ่ายทอดสู่เกษตรกรทั้งในประเทศและประชาคมอาเซียน
    • พัฒนาสมรรถนะ และเพิ่มประสิทธิภาพของบุคคลากรของสำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์
  4. ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์ และความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเข้าถึงการใช้และแบ่งปันผลประโยชน์
    • ควบคุม ดูแลและปฏิบัติตาม พรบ.ส่งเสริมและอนุรักษ์สัตว์พื้นเมือง
    • สำรวจ รวบรม และอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์
    • ส่งเสริมและสนับสนุนการขึ้นทะเบียนและการรับรองพันธุ์สัตว์เลี้ยงไทย
    • ศึกษาวิจัย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมสัตว์

หน้าที่ความรับผิดชอบ 

สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์

  1. ดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และสร้างสัตว์พันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกรในประเทศ
  3. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเทคโนโลยีการผลิตสัตว์พันธุ์ดี การจัดการฟาร์ม การทดสอบพันธุ์สัตว์ และการกระจายสัตว์พันธุ์ดีให้เกษตรกรเครือข่ายและเกษตรกรทั่วไป
  4. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยการอนุรักษ์และพัฒนาสัตว์พื้นเมือง สัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งที่เลี้ยงอยู่ในถิ่นกำเนิดเดิมและสัตว์ต่างถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรม และพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
  5. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย และกำหนดมาตรฐานคุณลักษณะของพันธุกรรมสัตว์
  6. ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสัตว์พันธุ์ดีแก่เกษตรกร และผู้เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  7. บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านปศุสัตว์
  8. พัฒนาระบบ รูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการตรวจรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์

  1. วิจัย สร้างพันธุ์สัตว์ที่เป็นพันธุ์คัดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ให้สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์และเอกชนรับไปทดสอบและกระจายพันธุ์สู่เกษตรกร
  2. ศึกษา วิจัย เพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพการผลิตปศุสัตว์ในภูมิภาค เพื่อปรับให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกร
  3. กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์
  4. กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาของศูนย์บำรุงพันธุ์สัตว์ในอุปการะของกรมปศุสัตว์
  5. ดำเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล เพื่อการรับรองพันธุ์และจดทะเบียนสัตว์ของเกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์

สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์

  1. ดำเนินการทดสอบพันธุ์สัตว์ เพื่อประเมินพันธุกรรมสัตว์ต้นตระกูล และกระจายพันธุ์หลัก และพันธุ์ขยายสู่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ของประเทศ
  2. ศึกษา วิจัย และรวบรวมข้อมูลวิชาการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์
  3. ร่วมกับศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในการติดตาม ตรวจสอบ กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำ และแก้ไขปัญหาให้แก่ศูนย์บำรุงพันธุ์ในอุปการะของกรมปศุสัตว์ และเป็นแหล่งข้อมูลเบื้องต้นในการรับรองพันธุ์สัตว์ ตามกฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์
  4. ดำเนินการอนุรักษ์และรวบรวมพันธุกรรมสัตว์พื้นเมือง สัตว์หายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งในและนอกถิ่นกำเนิดเดิม