ข้อมูลองค์กร

ประวัติ

พ.ศ.เหตุการณ์
2444กระทรวงเกษตราธิการได้เริ่มกิจการเกี่ยวกับช่างไหม แล้วเปลี่ยนฐานะเป็นกรมช่างไหม ซึ่งมีการสอนวิชาเกี่ยวกับกิจการเลี้ยงไหมและช่างไหม รวมทั้งวิชาแขนงอื่นที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เบื้องต้น
2451กรมช่างไหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเพาะปลูก" และได้มีการเร่งขยายการส่งเสริมกิจการช่างไหม การเพาะปลูก และการปศุสัตว์ มากยิ่งขึ้น กิจการของกรมเพาะปลูกช่วงแรก ได้แบ่งงานออกเป็น 3 แขนง คือ
  1. แขนงการเพาะปลูก อยู่ในความควบคุมของพระยาโภชนาการ ผู้ชำนาญทางพืช
  2. แขนงการผสมสัตว์และบำรุงสัตว์ อยู่ในความควบคุมของพระศรีเกษตราภิบาล ผู้ชำนาญทางบำรุงสัตว์
  3. แขนงงานเกี่ยวกับการรักษาและป้องกันโรคสัตว์ อยู่ในความควบคุมของพระยาอาหารบริรักษ์ ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมเพาะปลูก
2466รัฐบาลทำ สัญญาจ้าง มิสเตอร์อาร์.พี.โยนต์ (Mr.R.P.Jones M.R.C.V.S.) ชาวอังกฤษเข้ามาเป็นที่ปรึกษากิจการสัตวแพทย์แทนที่ปรึกษาคนก่อน ท่านเปรียบเสมือนบิดาของวงการสัตวแพทย์ เพราะท่านรับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาประมาณ 36 ปี ทำความเจริญให้วงการสัตวแพทย์เป็นอย่างมาก เป็นผู้ริเริ่มทำวัคซีนสำหรับสัตว์ขึ้นในประเทศไทย วางระเบียบในการควบคุมการส่งสัตว์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ตลอดจนเป็นผู้ก่อตั้งกองบำรุงพันธุ์สัตว์และกองทำวัคซีนและ เซรั่มที่ปากช่อง
2470ก่อตั้งสถานีเลี้ยงสัตว์ เรียกว่า"สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ"
2474ทางราชการได้โอนกิจการ "กรมเพาะปลูก" ไปสมทบกับกิจการ "กองตรวจพันธุ์รุกขชาติ" จัดตั้งขึ้นเป็น"กรมตรวจกสิกรรม"
2475มีการจัดระบบราชการในกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพานิชย์และคมนาคมใหม่ โดยมีการรวมและแยกเป็น"กระทรวงเกษตรพานิชการ"และ"กระทรวงคมนาคม"โดยมีกรมตรวจกสิกรรมอยู่ในสังกัดกระทรวงเกษตรพานิชยการด้วย
2476กระทรวงเกษตรพานิชยการได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กระทรวงเศรษฐการ"และกรมตรวจกสิกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเกษตร"
2477กรมเกษตรได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเกษตรและกรมประมง"สำหรับกิจการบำรุงพันธุ์สัตว์กับกิจการรักษาและป้องกันโรคสัตว์ได้รวมกันยกฐานะเป็น"กองอุตสาหกรรมสัตวพรรณ"โดยมีมิสเตอร์อาร์.พี.โยนส์ รักษาการหัวหน้ากองในช่วงแรก แบ่งเป็น 8 แผนก คือ
  1. แผนกวิชาโรคสัตว์
  2. แผนกวัคซีนและเซรั่ม
  3. แผนกปราบโรค
  4. แผนกด่านกักกันสัตว์
  5. แผนกสัตว์ใหญ่
  6. แผนกสุกร
  7. แผนกเป็ดไก่
  8. แผนกอาหารสัตว์
2481กรมเกษตรและการประมงได้ปรับปรุงส่วนราชการ แบ่งกองอุตสาหกรรมสัตวพรรณออกเป็น 2 กอง คือ กองสัตวรักษ์ และ กองสัตวบาลน์
2485

ก่อตั้งสถานีเลี้ยงสัตว์ เรียกว่า "สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม"

มีพระราชกำหนด ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้มี กระทรวงเกษตราธิการ และได้สถาปนากองสัตวรักษ์ และกองสัตวบาลน์ จากกรมเกษตรและการประมง ขึ้นเป็น"กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ"มี พ.ท.หลวงชัย อัศวรักษ์ (ไชย แสงชูโต) เป็นอธิบดีคนแรก แบ่งเป็น 4 กอง ดังนี้

  1. สำนักเลขานุการกรม
  2. กองสัตวบาล
  3. กองสัตวรักษ์
  4. กองสัตวศาสตร์
2489ก่อตั้งสถานีเลี้ยงสัตว์ เรียกว่า "หมวดสัตว์ใหญ่ทับกวาง" และเปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง"ใน เวลาต่อมา
2490ก่อตั้งสถานีเลี้ยงสัตว์ เรียกว่า "สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่"
2495มีพระราชบัญญัติปรับ ปรุงกระทรวง ทบวง กรม เปลี่ยนชื่อกระทรวงเกษตราธิการ เป็น "กระทรวงเกษตร" และกรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมการปศุสัตว์" แบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กอง คือ
  1. สำนักเลขานุการกรม มี 3 แผนก
  2. กองสัตวรักษ์ มี 3 แผนก
  3. กองควบคุมโรคระบาด มี 2 แผนก
  4. กองวัคซีนและซีรั่ม มี 3 แผนก
  5. กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์
  6. กองอาหารสัตว์
  7. กองทดลองและค้นคว้า
2496- ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง
- มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และเปลี่ยนชื่อกรมการปศุสัตว์ เป็นกรมปศุสัตว์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 7 กอง คือ
    1. สำนักเลขานุการกรม มี 4 แผนก
    2. กองสัตวรักษ์ มี 3 แผนก
    3. กองควบคุมโรคระบาด มี 2 แผนก
    4. กองวัคซีนและซีรั่ม มี 3 แผนก
    5. กองอาหารสัตว์
    6. กองทดลองและค้นคว้า
    7. กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ มี 4 แผนกกับสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ (ฐานะเทียบเท่าแผนก) รวม 5 สถานี ได้แก่
      1. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง
      2. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ
      3. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง
      4. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่
      5. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม
2497ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สกลนคร
2500

มีพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร แบ่งส่วนราชการ ออกเป็น 8 กอง คือ

  1. สำนักเลขานุการกรม มี 4 แผนก
  2. กองสัตวรักษ์ มี 3 แผนก
  3. กองควบคุมโรคระบาด มี 2 แผนก
  4. กองวัคซีนและซีรั่ม มี 3 แผนก
  5. กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ มี 12 แผนก (รวมสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าแผนกด้วย)
  6. กองอาหารสัตว์
  7. กองวิชาการ (เปลี่ยนจากห้องทดลองและค้นคว้า)
  8. สัตวแพทย์เขต (เปลี่ยนจากสัตวแพทย์ภาค และยุบการบริหารจากส่วนภูมิภาคมาเป็นส่วนกลาง)
2501ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์
2503ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อุบลราชธานี
2506ก่อตั้งศูนย์แพร่พันธุ์สัตว์นครพนม
2507ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก
2508

ก่อตั้ง

  • สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ศรีสะเกษ
  • สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อุดรธานี
  • ศูนย์แพร่พันธุ์สัตว์เลย
2511ก่อตั้งสถานีปรับปรุงพันธุ์สุกรหนองกวาง
2516
20 กรกฎาคม 2516 มีพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร แบ่งส่วนราชการออกเป็น 11 กอง คือ
  1. สำนักเลขานุการกรมปศุสัตว์
  2. กองคลัง
  3. กองการเจ้าหน้าที่
  4. กองควบคุมโรคระบาด
  5. กองวิชาการ
  6. กองสัตวรักษ์
  7. กองผลิตชีวภัณฑ์ (กองวัคซีนและเซรั่มเดิม)
  8. กองบำรุงพันธุ์สัตว์ (กองส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เดิม) มีสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ในสังกัด 12 แห่ง โดยมี นายบุญถม ไวทยานุวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์สัตว์คนแรก
  9. กองอาหารสัตว์
  10. กองผสมเทียม
  11. สำนักงานปศุสัตว์เขต
2519ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปากช่อง
2523
ก่อตั้ง
  • หน่วยดำเนินงานด้านปศุสัตว์ ในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดปราจีนบุรี ตามพระราชดำริ(บริเวณอ่างเก็บน้ำท่ากะบาก อำเภอสระแก้ว)
  • สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์แพร่
  • 3 มีนาคม 2523 ก่อตั้งหน่วยแพร่พันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน ตามโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน
2524ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ชัยภูมิ
2525ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี
2526ก่อ ตั้งสถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ (National Dairy Training and Applied Research Institute) โดยการสนับสนุนของสำนักงาน FAO/RDDTTAP RDDTTAP ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และย้ายมาตั้งอยู่ภายในศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ต่อมากรมปศุสัตว์ได้อนุมัติก่อสร้างอาคารสถาบันฯ ประกอบด้วยห้องเรียน ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ และห้องสำนักงาน FAO/RDDTTAP สร้างที่บ้านแม่หยวก หลังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันดำเนินการด้านการส่งเสริมพัฒนาการเลี้ยงโคนมทั่วประเทศ การฝึกอบรมระดับประเทศและนานาชาติแก่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการด้านโคนมและ ผลิตภัณฑ์นม และทำการวิจัยด้านอาหารโคนมการจัดการและสุภาพโคนม การวิจัยเลี้ยงโคนมพันธุ์แท้ขาวดำจากประเทศคานาดา และโคนมลูกผสมขาวดำ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ สถาบันฯ มี
เจ้าหน้าที่ 10 นาย ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ 5 นาย โดยมีนายธวัชชัย อินทรตุล ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันฯ คนแรก
2527เปลี่ยนจาก ศูนย์แพร่พันธุ์สัตว์เลย เป็น หน่วยบำรุงพันธุ์สัตว์เลย​​
2529
  • 13 กุมภาพันธ์ 2529 เปลี่ยนจากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวางเป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวางเปลี่ยนจากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระเป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2529 เปลี่ยนจากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลางเป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง
  • เปลี่ยนจากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่เป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่
  • เปลี่ยนจากหน่วยแพร่พันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอนเป็นสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน
2530เปลี่ยนจากศูนย์แพร่พันธุ์สัตว์นครพนมเป็นหน่วยบำรุงพันธุ์สัตว์นครพนม
2533
  • ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บุรีรัมย์
  • เปลี่ยนหน่วยดำเนินงานด้านปศุสัตว์ ในโครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาจังหวัดปราจีนบุรี ตามพระราชดำริเป็นสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ท่ากะบาก
2534ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์จันทบุรี
เปลี่ยนจากหน่วยบำรุงพันธุ์สัตว์นครพนมเป็นสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นครพนม
2535ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์พิษณุโลก
2536
  • - ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นครสวรรค์
  • เปลี่ยนจาก สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ท่ากะบาก เป็น สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สระแก้ว
  • รวมมี ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สสัตว์  5 แห่ง ได้แก่ 1.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ทับกวาง 2.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ลำพญากลาง 3.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ 4.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ 5.ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี และมีสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ 36 แห่ง
2537
  • กรมปศุสัตว์ได้มีนโยบายจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติเป็นการแบ่งส่วนราชการภายใน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2537 โดยมี ดร.สวัสดิ์ ธรรมบุตร เป็นผู้ดำเนินการ
  • ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์พะเยา
  • มีพระราชกฤษฎีกาปรับโครงสร้างกรมปศุสัตว์ โดยกองบำรุงพันธุ์สัตว์ มีการปรับเปลี่ยนสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ เป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เพิ่มเติม 3 แห่ง ดังนี้
    1. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก
    2. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง
    3. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา
  • ทำ ให้มีศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในสังกัด จำนวน 8 แห่ง และมีสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ในสังกัด จำนวน 31 แห่ง (จากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ 36 แห่ง ในปี 2536 ปรับเป็นศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ 3 แห่ง ยุบสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ จำนวน 2 แห่ง คือ สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บุณฑริก และสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์วานรนิวาส)
2538
  • ก่อตั้งสถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกรนครราชสีมา เป็นการแบ่งส่วนราชการภายใน ซึ่งเดิมเป็นโครงการร่วม ระหว่างกรมปศุสัตว์กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชื่อ โครงการวิจัยปรับปรุงพันธุ์สุกรและขยายการผลิต ตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และ สถานีฝึกนิสิตเกษตรทับกวาง (ทับกวางใน) จังหวัดสระบุรี ต่อมาเมื่อเลิก โครงการจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกรนครราชสีมารองรับงานจาก โครงการดังกล่าว ในปี 2538 โดยมีนายสัมฤทธิ์ แสนบัวเป็นผู้อำนวยการคนแรก
  • ก่อตั้งสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี
  • เปลี่ยนจาก หน่วยบำรุงพันธุ์สัตว์เลย เป็น สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เลย
2539สิ้นสุดโครงการ FAO/RDDTTAP ของสถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ ยุบรวมเป็นงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์โคนมของ "ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่"
2545
  • มีพระราชกฤษฎีกาปรับโครงสร้างกรมปศุสัตว์ ปรับเปลี่ยนสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ มาเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เพิ่มเติมอีก จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
    1. สถาบันวิจัยและทดสอบพันธุ์สุกรนครราชสีมา เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นครราชสีมา
    2. สถาบันวิจัยและพัฒนาสัตว์ปีกแห่งชาติ เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์บุรี
    3. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์ เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุรินทร์
  • โอนสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์จำนวน 5 แห่ง ไปสังกัดกับสำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังนี้
    1. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นราธิวาส
    2. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม
    3. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อุทัยธานี
    4. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เขาไชยราช
    5. สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์จันทบุรี
  • เปลี่ยนชื่อสถานีในสังกัด จาก "สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์" เป็น "สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์"

ทำให้มีศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ในสังกัด จำนวน 11 แห่ง และมีสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ จำนวน 24 แห่ง

2546
ได้มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานระหว่างศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ ดังนี้
  1. เปลี่ยนศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีจันทบุรี เป็น สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์จันทบุรี
  2. สถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ปลวกแดง เป็น ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลวกแดง
2553
  • ยุบสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์บางปะกง
  • เพิ่มสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์มหาสารคาม ซึ่งเป็นการแบ่งส่วนราชการภายใน

ทำให้ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จำนวน 11 แห่ง และสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์ จำนวน 24 แห่ง

2554

กฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2554 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 3ก ลงวันที่ 6 มกราคม 2555

  • เปลี่ยนชื่อจาก "กองบำรุงพันธุ์สัตว์"  เป็น  "สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์"

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่ชื่อ - นามสกุลช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1นายบุญถม ไวทยานุวัติ9 มกราคม 2517 ถึง 1 ตุลาคม 2519
2ดร.ทิม พรรณศิริ10 มีนาคม 2520 ถึง 30 มีนาคม 2521
3นายสมุทธ เจริญรัถ10 กันยายน 2521 ถึง 30 กันยายน 2521
4นายวิฑูรย์ กำเนิดเพ็ชร์21 ธันวาคม 2521 ถึง 22 พฤศจิกายน 2522
5นายประเสริฐ ยุทธวิสุทธิ์25 มกราคม 2523 ถึง 1 ตุลาคม 2525
6ร.ท.อนันต์ จินวาลา 4 พฤศจิกายน 2525 ถึง 30 กันยายน 2531
7นายพยอม พิกุลทอง14 พฤศจิกายน 2531 ถึง 20 ตุลาคม 2534
8นายสุพจน์ ศรีนิเวศน์21 ตุลาคม 2534 ถึง 1 ตุลาคม 2535
9นายสิริวัทก์ สโรบล8 ตุลาคม 2535 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2537
10นายทองทวี ดีมะการ21 กุมภาพันธ์ 2537 ถึง 14 พฤษภาคม 2539
11นายกิตติ จาตนิลพันธ์15 สิงหาคม 2539 ถึง 1 ตุลาคม 2542
12ดร.สวัสดิ์ ธรรมบุตร21 ตุลาคม 2542 ถึง 1 ตุลาคม 2545
13นายศิริวัฒน์ อินทรมงคล26 กุมภาพันธ์ 2546 ถึง 8 พฤษภาคม 2550
14นายวิทวัส เวชชบุษกร4 มิถุนายน 2550 ถึง 30 กันยายน 2551
15นางอุดมศรี อินทรโชติ17 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552
16นายราชันย์ ภุมมะภูติ8 ตุลาคม 2552 ถึง 24 เมษายน 2555
17นายทศพร  ศรีศักดิ์25 เมษายน 2555 ถึง 6 มิถุนายน 2560
18นายไสว  นามคุณ7 มิถุนายน 2560 ถึง ปัจจุบัน

หมายเหตุ อ้างอิง เรียบเรียงจาก

  • หนังสือครบรอบ 50 ปี กรมปศุสัตว์
  • หนังสือครบรอบ 60 ปี กรมปศุสัตว์
  • รายงานประจำปี 2540 ของกรมปศุสัตว์
  • รายงานประจำปี 2541 ของกองบำรุงพันธุ์สัตว์

ด้วยความอนุเคราะห์ข้อมูลจากกองการเจ้าหน้าที่ และนายทองทวี ดีมะการ นางกรองแก้ว บริสุทธิ์สวัสดิ์ ที่ปรึกษา นางสาวสุชาดา บัลลังน้อย ผู้เรียบเรียง